ไทยพร้อมจับมือจีน เจาะตลาดพลังงานและดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งกำลังมีเป้าหมายพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ 10 ประเทศอาเซียนและ 15 ประเทศหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

ล่าสุดมีรายงานว่า ประเทศไทยมีแนวความคิดที่จะร่วมมือกับจีนในการเจาะตลาดพลังงานและดิจิทัลใหม่ ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่จะยกระดับความร่วมมือทวิภาคีไปสู่มิติใหม่นอกเหนือจากการท่องเที่ยวและการค้าผลไม้คำพูดจาก นสล็อตออนไลน์

TikTok Shop ภัยคุกคามของ Shopee-Lazada ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้?

นักการตลาด วิเคราะห์ "พิธา" เป็นทูตท่องเที่ยว

หอการค้าไทย หวั่นขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ 450 บาท กระทบการลงทุน

อรรถยุทธ์ ศรีสมุทร เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า รัฐบาลไทยกำลังมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมใหม่และผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม รวมถึงกำลังแสวงหาการลงทุนร่วมกับบริษัทจีนในธุรกิจกังหันลม เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ประเทศต่าง ๆ เช่น ลาวและเวียดนาม

“นี่คือตัวอย่างการดำเนินการที่นักธุรกิจจีนและนักธุรกิจไทยกำลังดำเนินการเพื่อช่วยเหลือประเทศที่สามในด้านพลังงานใหม่” อรรถยุทธ์กล่าว

เมื่อกล่าวถึงความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ อรรถยุทธ์ได้กล่าวถึงศักยภาพในการร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจเขตเศรษฐกิจ ของจีน ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญในภาคใต้ของจีนและเป็นฐานของการพัฒนาพลังงานใหม่และอุตสาหกรรมดิจิทัล

เขตพัฒนาเศรษฐกิจ Greater Bay Area นั้น ประกอบด้วยฮ่องกง มาเก๊า และ 9 เมืองบนแผ่นดินใหญ่บริเวณอ่าวกวางตุ้งและลุ่มแม่น้ำไข่มุก ซึ่งรวมถึงเสินเจิ้นและกวางโจว โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางการเติบโตและนวัตกรรมชั้นนำของจีน และเป็นศูนย์รวมของแบรนด์ชั้นนำ เช่น ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมอย่างหัวเว่ย ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ BYD ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี Tencent และผู้ผลิตโดรน DJI

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ภูมิภาคอาเซียนเป็นปลายทางการส่งออกสินค้าบริการที่ใหญ่ที่สุดของจีนในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2023 นี้ แซงหน้าตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป อีกทั้งผู้ผลิตจีนกำลังสร้างโรงงานหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทเทคโนโลยีของจีนหลายแห่งได้ขยายตลาดในภูมิภาคนี้

สำหรับประเทศไทยเอง มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอาเซียน เดิมทีเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่แล้ว โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนมาเยือน 5 ล้านคนในปีนี้ และเป็นแหล่งสำคัญในการส่งออกข้าวและผลไม้เมืองร้อนมายังจีน

นอกจากนี้ ไทยยังเป็นพันธมิตรหลักของจีนในการพัฒนาเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงทั่วเอเชียที่จะขยายจากคุนหมิง เมืองหลวงของมณฑลยูนนานของจีนไปยังสิงคโปร์

อรรถยุทธ์บอกว่า “ผมคิดว่าตอนนี้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใหม่ ๆ มีความโดดเด่นพอสมควร เรากำลังพูดถึงพลังงานสะอาด การจัดการขยะแบบใช้แล้วทิ้ง และมีบริษัทจีนจำนวนมากที่นำของเหลือใช้เหล่านี้มาทำเป็นวัสดุก่อสร้าง อิฐและผนัง”

รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศเมื่อปีที่แล้วระบุว่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานที่ยั่งยืน (Energy Transition) ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น ถือเป็น “โอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้น” ในระบบเศรษฐกิจพลังงานสะอาดที่เกิดขึ้นใหม่

เอกอัครราชทูตบอกว่า ก่อนสิ้นเดือนหน้า หวัง เหว่ยจง ผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้งจะเดินทางเยือนไทย และเขาหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะใช้โอกาสนี้ตกลงความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนมากขึ้น

ในส่วนของอุตสาหกรรมดิจิทัล อรรถยุทธ์ กล่าวว่า คนไทยยังคงพึ่งพาเงินสดและบัตรเครดิตเป็นหลักในการชำระเงิน และใช้ดินสอหรือสีน้ำในการออกแบบ ซึ่งทำให้มีลักษณะเป็นประเทศที่ยังคงวิถีชีวิตดั้งเดิมเอาไว้ ทำให้มีโอกาสใน “การเรียนรู้ในแง่ของการใช้แนวคิดดิจิทัลจากจีนอย่างเต็มที่”

 ไทยพร้อมจับมือจีน เจาะตลาดพลังงานและดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขาบอกว่า “ผมคิดว่าประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความดั้งเดิมมาก ถ้าคุณไปอินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา พวกเขายังไม่รู้จักวิถีชีวิตแบบดิจิทัลมากนัก หรือถ้าคุณไปเมียนมา จะพบว่าพวกเขายังใช้เทคโนโลยีเก่าครึ่งศตวรรษอยู่ … ดังนั้นผมคิดว่าหนทางข้างหน้าคือดิจิทัล”

ในการประชุมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศจีน หนง หรง เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อรรถยุทธ์กล่าวว่า การกลับมาดำเนินการแลกเปลี่ยนอย่างรอบด้านระหว่างทั้งสองประเทศในทุกระดับจะ “กระชับการประสานงานและความร่วมมือในด้านพหุภาคีรวมถึงความร่วมมือระดับภูมิภาคให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น”

เรียบเรียงจาก SCMP

ภาพจาก AFP

By admin

Related Post