สถานการณ์บริเวณคาบสมุทรเกาหลีตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในสัญญานคือการที่สหรัฐฯ นำเรือดำน้ำ USS Kentucky ซึ่งสามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ มาจอดเทียบท่าที่เกาหลีใต้เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา ก่อนที่เมื่อวานนี้จะนำเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์อีกลำที่ชื่อ USS Annapolis เข้ามาสมทบ
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อย สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกาหลีเหนือไม่พอใจและออกมาตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธลงมาตกลงทะเลนอกชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลีเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา
เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 2 ลูก หลังเรือดำน้ำสหรัฐฯ ถึงเกาหลีใต้
เป็นตายร้ายดีไม่อาจทราบ เกาหลีเหนือยังเงียบ กรณีพลทหารสหรัฐข้ามพรมแดน
เผยรายละเอียดการข้ามพรมแดนเกาหลีเหนือของทหารสหรัฐ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำนักข่าว Al Jazeera รายงานว่า คณะเสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้เปิดเผยว่าเกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธติดต่อกัน 2 ลูก จากพื้นที่ใกล้กับกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของเกาหลีเหนือ ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.55 นาฬิกา จนถึงเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่นของคืนที่ผ่านมา โดยขีปนาวุธทั้งสองลูกบินไปไกลประมาณ 400 กิโลเมตร ก่อนที่จะตกลงบริเวณน่านน้ำนอกชายฝั่งของคาบสมุทรเกาหลี
ทั้งนี้กองทัพเกาหลีใต้ระบุว่า การระดมยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือครั้งล่าสุดนี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สามในรอบ 2 สัปดาห์ และการยิงขีปนาวุธแบบถี่ๆ เช่นนี้ถือเป็นการกระทำที่ยั่วยุ ร้ายแรง และคุกคามสันติภาพในภูมิภาค
เช่นเดียวกับกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่นที่รายงานถึงการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ โดยสื่อของญี่ปุ่นรายงานอ้างอิงแหล่งข่าวของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งเปิดเผยว่าเกาหลีเหนืออาจยิงขีปนาวุธหลายลูก และเชื่อว่าขีปนาวุธดังกล่าวตกนอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะของญี่ปุ่น
ขณะที่หน่วยยามชายฝั่งของญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้เรือประมง และเรือต่างๆ ที่ลอยลำอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวระมัดระวังเศษซากของขีปนาวุธที่ตกลงมา
ด้านนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่น ได้ออกมาประณามและยื่นประท้วงเกาหลีเหนือทันที โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้และถือเป็นการคุกคามสันติภาพและเสถียรภาพ ไม่เพียงแค่เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระดับภูมิภาค และประชาคมระหว่างประเทศด้วย
การยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ นำเรือดำน้ำ USS Kentucky มาจอดเทียบท่าที่เกาหลีใต้ ก่อนที่เมื่อวานนี้จะนำเรือดำน้ำอีกลำที่ชื่อ USS Annapolis เข้ามาอีก โดยเรือดำน้ำทั้ง 2 ลำขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ และถือเป็นหนึ่งในยุทโธปกรณ์ทางการทหารชั้นสูง และไม่บ่อยนักที่สหรัฐฯ จะนำมาเทียบท่าที่เกาหลีใต้พร้อมๆกัน
กองทัพเรือเกาหลีใต้ ชี้แจงว่า USS Annapolis มาเทียบท่าเพื่อแวะเติมน้ำมันและเสบียง ขณะที่โฆษกกองทัพเรือเกาหลีใต้ระบุ เวลานี้กองทัพสหรัฐฯ และเกาหลีใต้กำลังหารือกันว่าจะจัดการซ้อมรบเรือดำน้ำลำนี้หรือไม่
ทั้งนี้เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ถือเป็นเทคโนโลยีทางการทหารชั้นสูง สามารถอยู่ในน้ำได้นาน ปัจจุบันมีเพียง 6 ประเทศในโลกที่มีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, อินเดีย และจีน
ปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นชาติที่มีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์มากที่สุดคือ 68 ลำ รองลงมาคือรัสเซียมี 29 ลำ และจีนมี 12 ลำ ส่วนสหราชอาณาจักรมี 11 ลำ ฝรั่งเศสมี 8 ลำ สุดท้ายคืออินเดียมี 1 ลำ
ที่เรียกว่าเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงทางการทหารเพราะการขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ จึงสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานหลายเดือน และลงลึกใต้น้ำได้ถึง 600 เมตร ส่วนความเร็วในการเคลื่อนที่คือประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถหลบหลีกการโจมตีจากทั้งเรือและอากาศยานได้ดี
เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือเรือดำน้ำพิฆาต (Hunter-Killer subs / SSN) ใช้เพื่อโจมตีเรือหรือเรือดำน้ำของศัตรู และสามารถยิงจรวดโจมตีเป้าหมายบนพื้นดินได้ด้วย และ เรือดำน้ำที่เป็นฐานยิงขีปนาวุธ (Ballistic Missile subs / SSBN) เป็นอาวุธลับขั้นสุดยอดของชาติมหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐฯ
ทั้งนี้เรือดำน้ำ USS Annapolis เป็นประเภทแรกคือ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ แต่ไม่มีการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ภายในตัวเรือ
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ส่ง USS Kentucky ซึ่งเป็นเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่มีฐานยิงขีปนาวุธ (SSBN) เข้ามาเกาหลีใต้ก่อนแล้ว โดยมาเทียบท่าที่เมืองปูซาน ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปีที่สหรัฐฯ ส่งเรือดำน้ำประเภท SSBN เข้ามาในเกาหลีใต้ โดย USS Kentucky สามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้ 20 หัว
การนำเรือดำน้ำที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะตัวที่มีฐานยิงขีปนาวุธที่ติดหัวรบนิวเคลียร์ได้เข้ามาเทียบท่าในเกาหลีใต้ติดต่อกันถึง 2 ครั้งในรอบสัปดาห์ถือเป็นเรื่องที่เกิดไม่บ่อย
นักวิเคราะห์มองว่า ความเคลื่อนไหวนี้ของสหรัฐฯ คือการส่งสัญญานไปถึงเกาหลีเหนือว่า สหรัฐฯ และพันธมิตรพร้อมที่จะรับมือหากเกาหลีเหนือโจมตีด้วยนิวเคลียร์
ชา ดู ฮยอก (Cha Du-hyeogn) นักวิเคราะห์ของสถาบันอาซานเพื่อการศึกษานโยบายในกรุงโซลของเกาหลีใต้ ระบุว่าการที่สหรัฐฯ เคลื่อนอาวุธยุทโธปกรณ์ด้านนิวเคลียร์คือการส่งสัญญานไปที่เกาหลีเหนือว่า สหรัฐฯสามารถมีขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ที่ประจำการอยู่ในระยะใกล้กับเกาหลีเหนือเสมอ และที่สำคัญสามารถโจมตีเกาหลีเหนือได้จากทุกที่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
อีกคำถามก็คือว่า มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่เกาหลีเหนือจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ความเห็นของนักวิเคราะห์รายนี้คือ โอกาสที่เกาหลีเหนือจะใช้อาวุธนิวเคลียร์จริงๆ นั้นมีไม่สูงมาก และการที่สหรัฐฯ ส่งเรือดำน้ำที่มีฐานยิงขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์เข้ามาใกล้เกาหลีเหนือ อาจถือเป็นการป้องปรามเท่านั้น
แม้โอกาสที่เกาหลีเหนือจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ยังมีไม่สูงในความเห็นของนักวิเคราะห์ แต่คาบสมุทรเกาหลีก็มีกลิ่นไอของความตึงเครียดสูงอันเนื่องมาจากการทดสอบขีปนาวุธที่ถี่และบ่อยครั้งขึ้นของเกาหลีเหนือ ล่าสุดคือช่วงเช้าที่ผ่านมา